ชุดติดตั้งอุปกรณ์แก๊สแอลพีจี



ชุดติดตั้งอุปกรณ์แก๊สแอลพีจี

1.ถัง LPG (LPG TANK) 
          เป็นอุปกรณ์ที่ผลิตได้ในประเทศไทย และส่วนใหญ่ถูกผลิตขึ้นจากเหล็กกล้าแบบแผ่นรีดร้อน (Hot Rolled Coil) ที่ผ่านกรรมวิธีหลอมจากเตาคุณภาพสูง โดยเหล็กที่ใช้ในการผลิตถังจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ชั้นคุณภาพ และต้องมีส่วนประกอบทางเคมีตามข้อกำหนดมาตรฐานอุตสาหกรรม มอก.370-2525
2.หม้อต้ม/อุปกรณ์ลดแรงดัน (Reducer) แอลพีจี
          หม้อต้มจะทำหน้าที่เปลี่ยนสภาพแก๊สจากของเหลวให้อยู่ในรูปของไอ เพื่อให้เป็นเชื้อเพลิงที่เหมาะสมต่อการใช้กับเครื่องยนต์ มีวาล์วควบคุมการไหลเวียนของแก๊สให้สม่ำเสมอ โดยเซ็นเซอร์จทำการตรวจวัดอุณหภูมิระบบน้ำของเครื่องยนต์
          กล่าวได้ว่า หม้อต้มเป็นอุปกรณ์หลักที่จำเป็นในการใช้ติดตั้งอุปกรณ์แก๊สทั้งระบบดูด และระบบฉีดแก๊ส โดยหม้อต้มที่ใช้ในระบบฉีดแก๊สมักจะมีรูปลักษณ์หลายแบบ มีทั้งแบบหม้อต้มและสายต้ม ซึ่งบริษัทผู้ผลิต ส่วนใหญ่จะออกแบบให้สวยงาม และกลมกลืนกับการนำไปติดตั้งในห้องเครื่องของรถยนต์รุ่นใหม่ ๆ อยู่เสมอ
3. อุปกรณ์ผสมแก๊สกับอากาศ (Mixer)
          ให้มีอัตราส่วนเหมาะสมกับการเผาไหม้ ก่อนจ่ายแก๊สเข้าเครื่องยนต์สำหรับการติดตั้งแก๊สระบบดูดทั้ง LPG/CNG ปัจจุบันมีมิกเซอร์สำหรับเลือกใช้ให้เหมาะสมกับรถยนต์แต่ละรุ่น โดยมีให้เลือกตั้งแต่ Fix Mixer, Variable Mixer โดยมีบางสำนักพยายามปรับปรุงรูปแบบการทำงานของอุปกรณ์ผสมให้มีการทำงานละเอียดขึ้น อาทิเช่น Valve Gas Mixer เป็นต้น
4.กล่องควบคุมการจ่ายแก๊สระบบดูด (Lambda Control)
          เป็นอุปกรณ์ควบคุมการสั่งจ่ายแก๊สในระบบดูด ด้วยสัญญาณไฟฟ้าที่มีกล่องอิเล็กทรอนิกส์เป็นตัวควบคุมให้สเต็ปท์มอเตอร์เปิด/ปิดวาล์วให้จ่ายแก๊สในปริมาณที่เหมาะสมสำหรับการทำงานของเครื่องยนต์ในแต่ละรอบความเร็ว เพื่อขจัดปัญหาแก๊สหน้าหรือบางเกินไป ซึ่งส่งผลในเรื่องความประหยัด และความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับเครื่องยนต์ในกรณีที่จ่ายแก๊สบางเกินไป
5.หัวฉีดแก๊ส (Gas Injection) 
          เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ฉีดแก๊สเข้าห้องเผาไหม้ที่จำเป็นต้องทำได้อย่างแม่นยำ มีประสิทธิภาพ และสามารถตอบสนองได้ทุกจังหวะการทำงานของเครื่องยนต์ โดยปัจจุบันหัวฉีดที่นิยมใช้ในประเทศไทยมีทั้งหัวฉีดแบบราง, หัวฉีดแยกอิสระ และ Matrix
6.กล่องควบคุมและประมวลผลแก๊ส (Electronic Control Unit )
          หรือที่นิยมเรียกกันว่ากล่อง ECU มีหน้าที่รับข้อมูลการใช้เชื้อเพลิง และสัดส่วนการผสมเชื้อเพลิงกับอากาศจากกล่อง ECU ของรถยนต์ระบบหัวฉีด เพื่อจะนำมาควบคุมการทำงานของแก๊สแทนน้ำมัน ซึ่งกล่อง ECU แก๊สจะทำหน้าที่ประมวลสัญญาณที่ได้รับจากเซ็นเซอร์ของระบบทั้งหมดมาสั่งจ่ายแก๊สให้มีความเหมาะสมกับความต้องการเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์
7.สวิตซ์เลือกเชื้อเพลิง (Switch)
          เป็นปุ่มสวิตซ์ สามารถใช้ปรับเลือกใช้เชื้อเพลิงอัตโนมัติ โดยไม่ต้องหยุดรถ หรือดับเครื่องยนต์
8.วาล์ว (Valve)
          นับเป็นอุปกรณ์สำคัญสำหรับถังแก๊ส ประกอบด้วยวาล์วป้องกันการรั่วของแก๊สในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุรถชน วาล์วป้องกันการรั่วซึมของแก๊สในกรณีที่ท่อเดินแก๊สรั่ว และวาล์วควบคุมการไหลย้อนของแก๊ส เป็นต้น
9.กรองแก๊ส (Gas Filter)
          ทำหน้าที่กรองสิ่งสกปรกออกจากแก๊ส ก่อนจะจ่ายเข้าหัวฉีด เพื่อให้มีความสะอาดก่อนที่เชื้อเพลิงจะเผาไหม้
          อุปกรณ์แก๊ส นับเป็นสิ่งจำเป็นและมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับใช้ในการดัดแปลงเครื่องยนต์จากเดิมที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงมาเป็นแก๊ส ถ้าหากช่างหรือผู้ใช้รถยนต์เลือกอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน ย่อมหมายถึงงานติดตั้งที่ได้มาตรฐานความปลอดภัย และส่งผลดีต่อผู้ใช้รถยนต์ในระยะยาว
          ถึงตรงนี้ หลายคนอาจเกิดคำถามติดตามมาว่าการเลือกอุปกรณ์แก๊สที่ได้มาตรฐานนั้น ควรพิจารณาปัจจัยอะไรประกอบการตัดสินใจ ก่อนจะไปถึงในจุดนั้น ควรทำความเข้าใจอุปกรณ์แก๊สให้ถ่องแท้ถึงคุณสมบัติ และหลักการทำงานเบื้องต้น
          อุปกรณ์ที่แนะนำไปทั้ง 9 ชนิดนั้น เป็นอุปกรณ์หลัก ๆ เวลาที่ช่างนำไปติดตั้งนั้น จะมีการจัดเป็นชุดตามระบบที่ผู้ใช้ตัดสินใจเลือก ซึ่งมี 2 ระบบหลัก ๆ ด้วยกันคือระบบดูดแก๊ส กับระบบฉีดแก๊ส โดยแต่ละระบบสามารถจำแนกแยกย่อยออกไปตามความเหมาะสมสำหรับรถยนต์แต่ละรุ่น
ระบบดูดแก๊ส (MIXER)
          ระบบดูดธรรมดา (Fix Mixer)           อุปกรณ์ระบบดูดธรรมดาที่ใช้ในการติดตั้งระบบแก๊สแอลพีจี มีดังนี้
  1. ถังบรรจุแก๊สแอลพีจี (lpg Tank)
  2. วาล์ว (Valve) ที่นิยมใช้มี 3 ประเภทคือวาล์วแบบมือหมุนธรรมดา,มัลติวาล์ว และวาล์วซูเปอร์
  3. อุปกรณ์ผสมแก๊สกับอากาศ (Mixer)
  4. อุปกรณ์ปรับลดแรงดัน หรือนิยมเรียกกันว่าหม้อต้ม (Reducer)
  5. สวิตซ์ (Switch)
  6. ชุดสายไฟ
  7. ท่อทองแดง
          ระบบคาร์บูเรเตอร์ มีสัญญาณออกซิเจนเซ็นเซอร์(Fix Mixer Lambda Control)           อุปกรณ์ระบบดูดสำหรับรถคาร์บูเรเตอร์ แบบมีสัญญาณออกซิเจนเซ็นเซอร์ มีดังนี้
  1. ถังบรรจุแก๊สแอลพีจี (lpg Tank)
  2. วาล์ว (Valve) ที่นิยมใช้มี 3 ประเภทคือวาล์วแบบมือหมุนธรรมดา,มัลติวาล์ว และวาล์วซูเปอร์
  3. อุปกรณ์ผสมแก๊สกับอากาศแบบแปรผัน (Variable Mixer)
  4. อุปกรณ์ปรับลดแรงดัน หรือนิยมเรียกกันว่าหม้อต้ม (Reducer)
  5. กล่องควบคุมการจ่ายแก๊สระบบดูด (Lambda Control)
  6. สวิตซ์ (Switch)
  7. ชุดสายไฟ
  8. ท่อทองแดง
ระบบฉีดแก๊ส (Sequential Injecton)
          อุปกรณ์ระบบฉีดแก๊สแอลพีจี มีดังนี้
  1. ถังบรรจุแก๊สแอลพีจี (lpg Tank)
  2. วาล์ว (Valve) ที่นิยมใช้มี 2 ประเภทคือมัลติวาล์ว และวาล์วซูเปอร์
  3. อุปกรณ์ปรับลดแรงดัน หรือนิยมเรียกกันว่าหม้อต้ม (Reducer)
  4. กล่องควบคุมและประมวลผลแก๊ส (Electronic Control Unit ) หรือ “ECU”
  5. หัวฉีด (GAS Injection)
  6. สวิตซ์ (Switch)
  7. ชุดสายไฟ
  8. ท่อทองแดง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น